พิธีการศุลกากร
ระบบ E-Customs
การนำเข้าสินค้า[E-Import]
การส่งออกสินค้า[E-Export]
 
ระบบ E-Export 
กรมศุลกากรได้นำระบบอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้สายมาใฃ้ในการผ่านพิธีการศุลกากร เป็นการปรับปรุงระบบให้บริการบนพื้นฐานของเทคโนโลยีและการสื่อสาร โดยมีจุดมุ่งหมายในการอำนวยความสะดวกในการค้าระหว่างประเทศ อันเป็นการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันบนเวทีการค้าโลก

ผู้ที่ประสงค์จะดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากร ทางอิเล็กทรอนิกส์จะต้องทำการลงทะเบียนกับกรมศุลกากร เพื่อบันทึกข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร โดยมีขั้นตอนต่างๆดังต่อไปนี้

 1. ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนผ่านพิธีการ


สำหรับผู้ส่งออกที่ไม่มีตัวแทนในการส่งสินค้า ผู้ส่งสินค้าสามารถดำเนินการด้วยตนเองได้โดยปฎิบัติ ดังนี้
1. ผู้ส่งออกสินค้าต้องติดต่อจองวางสินค้ากับสายการบินให้เรียบร้อย ขึ้นอยู่กับผู้ส่งออกสินค้าว่าจะใช้สายการบินใด
2. ลงทะเบียนการใช้ระบบ e- Customs ที่กรมศุลกากร (คลองเตย) หรือที่ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ชั้น 2 อาคารสำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (BC-1)

หลักฐานที่ใช้ในการลงทะเบียน
กรณีนิติบุคคลหรือบุคลที่เข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
1. สำเนาภาพถ่ายหนังสือรับรองการเป็นหุ้นส่วนของบริษัท ซึ่งออกให้ไม่เกิน 6 เดือน
2. สำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรหรือ ภ.พ.20 หรือ ภ.พ.09
3. Bank Statement หรือสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ในนามบริษัท ห้างร้าน (ถ้ามี)
4. สำเนาภาพถ่ายหรือหนังสือรับรองตราสำคัญของบริษัท (บอจ.3) หรือห้างหุ้นส่วน (หส.2)
**กรณีหนังสือรับรองระบุเงื่อนใขต้องประทับตราสำคัญของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน
5. สำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือ Passport ของผู้มีอำนาจลงนามในการลงทะเบียน สำหรับบุคคลธรรมดา ให้ใช้แบบคำขอฯ หมายบเลข 1-1 และสำหรับนิติบุคคลฯให้ใช้แบบคำขอฯ หมายเลข 1 โดยสามารถ Load แบบคำขอฯ ได้ที่ Website ของกรมศุลกากรที่ http://www.customs.go.th/

* หมายเหตุ สำหรับตัวแทนผู้รับผิดชอบการบรรจุ(Freight Forworder) ที่ได้ลงทะเบียนไว้กับกรมฯ รับ-ส่ง ข้อมูลจากกรมฯ และจัดพิมพ์เอกสาร “ใบกำกับ ขนย้ายสินค้า” (Cargo Permit) ได้เองสามารถที่จะดำเนินการใน “ขั้นตอนการเดินพิธีการส่งออก” ข้อ 1-3 ได้ทันที
3. การส่งข้อมูล
3.1 ส่งข้อมูลจากระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ส่งออกเองหรือตัวแทน
3.2 ส่งข้อมูลโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร การส่งข้อมูลเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร โดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรสามารถดำเนินการได้กรณีผู้ส่งออกจัดทำใบขนสินค้าขาออกในรูปแบบเอกสารยื่นต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร
3.3 ส่งข้อมูลโดย Counter Services ติดต่อ Counter Services ที่ชั้น 2 (ชั้นลอย ศูนย์อาหาร) อาคาร BC-1,P2 เพื่อส่งข้อมูลไปยังกรมฯ เมื่อกรมฯ ตรวจสอบข้อมูลที่ส่งมาถูกต้องครบถ้วนแล้ว กรมฯ จะออกเลขที่ใบขนสินค้าและดำเนินการส่งข้อมูลการบรรจุลงในใบกำกับการขนย้ายสินค้า โดยที่ Counter Services เป็นผู้จัดพิมพ์เอกสารให้และนำเอกสารไปชำระค่าธรรมเนียม 200 บาท/ 1 Shipment ที่ฝ่ายบัญชีอากร ณ อาคารสำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (BC-1) ชั้น 2 จากนั้นให้ผู้ส่งออกสินค้าปฎิบัติตามขั้นตอนการเดินพิธีการได้ทันที
4. สำหรับใบกำกับการขนย้ายสินค้า (Cargo Permit) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
4.1 ใบกำกับการขนย้ายสินค้าที่ไม่ต้องเปิดตรวจ (Green Line)
4.2 ใบกำกับการขนย้ายสินค้าที่ต้องเปิดตรวจ (Red Line)

2. เอกสารที่ใช้ดำเนินการ

1. ใบขนสินค้าขาออก ต้นฉบับ ลงลายมือชื่อผู้ส่งออก
2. บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
3. Airway bill
4. packing list (ถ้ามี)
5. แบบรายละเอียดข้อมูลใบขนสินค้า 1 ฉบับ

3. ขั้นตอนการผ่านพิธีการส่งออกสินค้า

1. ผู้ส่งออกหรือตัวแทนใบกำกับการขนย้ายและ Airway bill ที่ออกโดยสารการบินไทย ไปพบเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่อาคาร CE ชั้น 1 พร้อมสินค้าเพื่อตรวจสอบทั้งนี้ หากมีการนำเข้าสินค้าที่มีต้องการมีการอนุมัติ/อนุญาต ตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องหรือเอกสารเพื่อประกอบการใช้สิทธิพิเศษทางภาษีกากร ให้พิมพ์หรือเขียนเลขที่ใบขนสินค้าลงบนเอกสารดังกล่าว แล้วยื่นต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร ก่อนส่งของออกหรือประกอบการตรวจสินค้าแล้วแต่กรณี
2. นำสินค้าที่ผ่านการตรวจพร้อมสำเนาใบกำกับการขนย้ายสินค้าตามข้อ 1 ไปแสดงให้กับเจ้าหน้าที่ ณ สถานีตรวจสอบ (Checking Port) เพื่อตรวจสอบ
3. นำสินค้าพร้อมทั้งสำเนาใบกำกับการขนย้ายสินค้า , Airway bill ไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่คลังสินค้า (Terminal Operator : TMO) ซึ่งขี้นอยู่กับสายการบินที่ผู้ส่งสินค้าใช้บริการ (ควรตรวจสอบสายการบินที่ใช้ก่อนว่าอยู่ ณ สถานีพักสินค้า (TMO) TG หรือ BFS เพื่อรอบรรจุขื้นเครื่องต่อไป)

4. ขั้นตอนการผ่านพิธีการส่งออกด้วยระบบ
e-Export ณ สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

1. ให้ผู้ส่งของออกหรือตัวแทนผู้รับผิดชอบการบรรจุแสดงใบกำกับการขนย้ายสินค้า และ Airway bill ให้แก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ ณ อาคาร CE ฝ่ายบริการศุลกากร ส่วนบริการศุลกากร 2
2. เจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจสอบเลขที่ใบกำกับการขนย้ายสินค้า แล้วพบว่ามีข้อมูลอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ศุลกากรแล้ว เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะปฎิบัติดังต่อไปนี้
2.1 กรณี Green Line เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะประทับตรา “Status 0309” พร้อมลงลายมือชื่อ และวันเดือนปีกำกับในใบกำกับการขนย้ายสินค้า
2.2 กรณีเปิดตรวจ เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะดำเนินการตรวจสินค้าตามระเบียบและกฎหมายศุลกากร เมื่อเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสินค้าถูกต้องแล้ว เจ้าหน้าที่จะประทับตรา“Status 0309” และลงลายมือชื่อในใบกำกับการขนย้ายสินค้า
2.3 กรณี X-Ray เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะดำเนินการ X-Ray เมื่อเห็นว่าถูกต้องเรียบร้อยแล้วจะประทับตรา “X-Ray” พร้อมลงลายมือชื่อในใบกำกับการขนย้ายสินค้า
เมื่อดำเนินการดังกล่าวข้างต้นแล้ว เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะคืนใบกำกับการขนย้ายสินค้าให้สำหรับเจ้าหน้าที่ประจำสถานีตรวจสอบ (Checking Post) เพื่อดำเนินการต่อไป

5. ขั้นตอนการผ่านพิธีการส่งออกด้วยระบบ e-Export และ ผู้ที่เกี่ยวข้องแยกตามหน่วยงาน
ขั้นตอน
ผู้ส่งของออก
ตัวแทนออกของ
ผู้รับผิดชอบการบรรจุ
ศุลกากร
คลังสินค้า (TG,BFS)
(ตัวแทนสายการบิน)
1.ผู้ส่งออกสินค้าต้องติดต่อจองระวางสินค้ากับสายการบินให้เรียบร้อย ขึ้นอยู่กับผู้ส่งออกสินค้าว่าจะใช้บริการสายการบินใด
I
 
 
 
I
2. ลงทะเบียนการใช้ระบบ e-Customs ที่กรมศุลกากร (คลองเตย) หรือที่ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ชั้น 2 อาคารสำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (BC-1)
I
 
 
I
 
 3. การส่งข้อมูล
3.1 ส่งข้อมูลจากระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ส่งออกเองหรือมอบหมายให้ตัวแทนออกของ (Custom Broker) เป็นผู้ส่งข้อมูลแทน
3.2 ส่งข้อมูลโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร. ผู้ส่งของออกต้องจัดทำใบขนสินค้าขาออกในรูปแบบเอกสารยื่นต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร
3.3 ส่งข้อมูลโดย Counter Services  
 
I
 
I
 
I
 
I
 
 
 
 
I
 
4.การบรรจุสินค้าขึ้นรถบรรทุกและส่งข้อมูลใบกำกับการขนย้ายสินค้าพร้อมนำสินค้าและใบกำกับการขนย้ายสินค้ามายื่นที่อาคารตรวจปล่อยสินค้าขาออก (CE) ที่ ฝ่ายบริการศุลกากร ส่วนบริการศุลกากร 2 
 
 
I
 
 
5. เมื่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจสอบเลขที่ใบกำกับการขนย้ายสินค้าที่ได้รับแจ้งว่ามีข้อมูลอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรแล้ว เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะปฏิบัติดังนี้
5.1. กรณี Green Line เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะประทับตราว่า “Status 0309” พร้อมลงลายมือชื่อและวันเดือนปีกำกับในใบกำกับการขนย้ายสินค้า
5.2 กรณีเปิดตรวจ เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะดำเนินการตรวจสินค้าตามระเบียบและกฎหมายศุลกากร เมื่อเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสินค้าถูกต้องเรียบร้อยแล้วเจ้าหน้าที่จะประทับตราว่า “Status 0309” และ ลงลายมือชื่อกำกับในใบกำกับการขนย้ายสินค้า
5.3. กรณี X-Ray เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะดำเนินการ X-Ray เมื่อเห็นว่าถูกต้องเรียบร้อยแล้วจะประทับตราว่า “X-Ray” และลงลายมือชื่อกำกับในใบกำกับการขนย้ายสินค้า
            เมื่อดำเนินการดังกล่าวข้างต้นแล้วเจ้าหน้าที่ศุลกากรจะคืนใบกำกับการขนย้ายสินค้าให้ เพื่อนำไปยื่นต่อเจ้าหน้าที่ประจำสถานีตรวจสอบ (Checking Post) เพื่อดำเนินการต่อไป โดยต้องนำสำเนาใบกำกับการขนย้ายสินค้าให้เจ้าหน้าที่ประจำสถานีตรวจสอบจำนวน 1 ชุด
 
 
 
 
I
 
6.นำสินค้าพร้อมทั้งสำเนาใบกำกับการขนย้ายสินค้า, Air waybill ไปแสดงต่อ เจ้าหน้าที่คลังสินค้า (Terminal Operator: TMO) ซึ่งขึ้นอยู่กับสายการบินที่ผู้ส่งสินค้าใช้บริการ (ควรตรวจสอบสายการบินที่ใช้ก่อนว่าอยู่ ณ สถานีพักสินค้า TMO (TG หรือ BFS) เพื่อรอบรรทุกขึ้นเครื่องต่อไป
I
I
 
 
I
7. คลังสินค้า (Terminal Operator: TMO) ส่งข้อมูล     e-Manifest เข้าสู่ระบบกรมศุลกากร และจะกระทำการประมวลผลรับบรรทุกโดยอัตโนมัติ ผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลไปใช้สิทธิประโยชน์ได้ทันที
 
 
 
I
I

 

6. ค่าธรรมเนียม
การบันทึกข้อมูลเข้าระบบคอมพิวเตอร์ต้องชำระค่าธรรมเนียม จำนวน 70 บาท และค่าธรรมเนียมในการปฎิบัติพิธีการศุลกากร ฉบับละ 200 รวม 270 บาท
7. การแก้ไขข้อมูล

กรณีต่อไปนี้ให้ยื่นคำร้องขอแก้ไขข้อมูลที่ส่วนบริการศุลกากร 2 อาคารตรวจสินค้าขาออก (CE)

1. กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงชื่ออากาศยาน หรือเที่ยวบิน ให้ตัวแทนอากาศยาน จัดทำคำร้องขอแก้ไขชื่อเรือ เที่ยวเรือตามแบบแนบท้ายในประกาศกรมศุลกากรที่ 116/2549 โดยไม่ต้องมีการพิจารณาความผิด
2. กรณีที่สินค้าส่งออกไปนอกราชอาณาจักรไม่ครบตามจำนวน (Short Packing) ภายใน 10 วัน นับแต่วันตัดบัญชีใบกำกับการขนย้ายสินค้าผู้ส่งของออกสามารถส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรเพื่อแก้ไขข้อมูลรายการของสินค้าที่ไม่ได้ส่งออก และยืนยันปริมาณ หรือจำนวนหีบหอสินค้าที่ส่งออกให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงได้โดยไม่ต้องมีการพิจารณาความผิด ภายหลัง 10 วันให้ยื่นต่อหน่วยควบคุม ส่วนบริการศุลกากร 2 โดยจะพิจารณาความผิดตามกฎหมายต่อไป
3. กรณีที่ต้องการขอตรวจรับสินค้ากลับคืน หรือยกเลิกการส่งออก ให้ผู้ส่งของออกใบจัดทำคำร้องแบบแสดงขอตรวจรับสินค้ากลับคืน / ยกการส่งออกตามแบบแนบท้ายประกาศกรมศุลกากรที่ 116/2549 เพื่อแก้ไขข้อมูลใบขนสินค้า
4. กรณีการขอแก้ไขข้อมูลใบขนสินค้าในเรื่องอื่น ๆ ภายหลังการส่งออกใบยื่นคำร้องต่องานพิธีการส่งออก สบศ.2 (อาคาร BC)

8. กรณีที่ต้องผ่านการอนุมัติ/อนุญาต หน่วยงานอื่น

1. กรณีใบขนสินค้าขาออกที่มีคำสั่งยกเว้นการตรวจ การอนุมัติ/อนุญาตให้กับของที่ส่งออกตามบัญชีราคาสินค้าที่ส่งออกเป็นรายครั้งให้ผู้ส่งของนำเอกสานในรูปแบบเอกสาร เช่น เอกสารแสดงการได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ ใบอนุญาต / ใบทะเบียน / หนังสืออนุญาต ตามเงื่อนไขของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ยื่นต่อหน่วยควบคุมทางศุลกากร สสภ. ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันตัดบัญชีใบกำกับการขนย้ายสินค้า
2. กรณีใบขนสินค้าขาออกที่มีคำสั่งให้เปิดตรวจ เพื่อตรวจสอบพิกัดราคา และของให้ผู้ส่งออก นำเอกสาร เช่น เอกสารแสดงการได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ ใบอนุญาต / ใบทะเบียน / หนังสืออนุญาต ตามเงื่อนไขของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ยื่นต่อเจ้าหน้าที่สูลกากร ขณะทำการตรวจของที่ส่งออกนั้น

9. การรับรองใบขนสินค้าขาออก

ให้ผู้ส่งของออกหรือตัวแทนที่ยื่นขอรับรองใบขนสินค้าขาออกต่องานธุรการ ส่วนบริการศุลกากร 2 ณ อาคารตรวจสินค้าขาออก (CE) ชั้น 2 พร้อมชำระค่าธรรมเนียมการจำลองเอกสารตามอัตรที่กำหนดไว้ในใบแบบ ศ.5 เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะพิมพ์ใบขนสินค้าจากระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร ซึ่งมีข่อความว่า “ใบขนสินค้าได้พิมพ์จากระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร” พร้อมลงนามรับรอง

10. ข้อพึงระวังในการส่งข้อมูลใบกำกับการขนย้ายสินค้า

1. ให้บันทึก MASTER AWB. เช่น 21712860008 โดยไม่ได้ขีดหรือเว้นวรรค
2. ให้บันทึกหมายเลข HOUSE AWB. โดยพิมพ์ตัวอักษรและตัวเลข ให้ติดกัน โดยไม่ขีด หรือเว้นวรรคเช่น CTI0012
3. กรณี Direct Shipment ให้ระบุเลข House Airway Bill และ Master Airway Bill ให้เป็นเลขเดียวกัน
4. กรณีการผ่านพิธีการส่งข้อมูล e-Export ด้วยระบบ Manual ให้ติดต่อทีมงานพิธีการ สบศ.2 (อาคาร BC) ก่อนเที่ยวบินออกไม่น้อยกว่า 4 ชั่วโมง
5. สินค้าและใบกำกับการขนย้ายสินค้าควรมาถึง สบศ.2 (อาคาร BC) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ก่อนเที่ยวบินออกไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง

แหล่งที่มา : www.customs.go.th

 
Free Zone Operator © 2006-2009