ขั้นตอนการเข้าสู่ระบบ
E-Customs |
|
1.
ผู้ประกอบการ |
1.1
ผู้ประกอบการ หมายถึง
(1)
ผู้ผ่านพิธีการศุลกากร (ผู้นำเข้า ส่งออก)
(2) ตัวแทนออกของ
(3) ผู้รับผิดชอบการบรรจุ
(4) ตัวแทนผู้รายงานยานพาหนะเข้า ออก
(5) ธนาคารศุลกากร (Customs Bank)
(6) เคาน์เตอร์บริการ
1.2 สถานที่ยื่นแบบคำขอลงทะเบียน
(1) ฝ่ายทะเบียนและสิทธิพิเศษ กลุ่มงานมาตรฐานพิธีการและราคา
หรือ
(2) ฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักหรือสำนักงานศุลกากร
หรือ
(3) ด่านศุลกากร |
2.ขั้นตอนการเข้าสู่ระบบ
e-Customs |
ผู้ประกอบการ
(ลำดับที่ 1 5) ที่จะเข้าสู่ระบบ e-Customs
สามารถเลือกวิธีการรับ ส่ง ข้อมูลเข้าสู่ระบบได้ดังนี้
2.1 ผู้ประกอบการประสงค์จะรับ ส่ง ข้อมูลและลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์เอง
(ดูรายละเอียดข้อ 3)
2.2 ผู้ประกอบการไม่ประสงค์จะรับ ส่ง
ข้อมูลเอง
2.2.1 เลือกใช้บริการของตัวแทนออกของ ซึ่งเลือกปฏิบัติได้
2 ทาง
2.2.1.1 ผู้ประกอบการลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์เอง
(ดูรายละเอียดข้อ 4)
2.2.1.2 ผู้ประกอบการมอบอำนาจให้ตัวแทนออกของเป็นผู้ลงลายมือชื่อทาง
อิเล็กทรอนิกส์แทน (ดูรายละเอียดข้อ 5)
2.2.2 เลือกใช้เคาน์เตอร์บริการ ผู้ประกอบการต้องนำข้อมูลใบขน,
Invoice มาให้เคาน์เตอร์บริการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรโดยเคาน์เตอร์บริการจะทำการพิมพ์ใบขนสินค้าให้ผู้ประกอบการลงลายมือชื่อ |
3.
กรณีประสงค์จะรับ ส่งข้อมูล และลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์เอง
|
ผู้ประกอบการต้องดำเนินการดังนี้
3.1
จัดหา Software, VANS และใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
3.2 ลงทะเบียนตามประกาศกรมศุลกากรที่
20/2550 ณ หน่วยรับลงทะเบียนตามข้อ 1.2
โดยต้องกรอกแบบ คำขอลงทะเบียนผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร
3.3 ทดสอบการรับ ส่ง ข้อมูลพร้อมจัดส่งรายงานตามแบบที่สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำหนด
3.4 เมื่อผู้ประกอบการผ่านการทดสอบเรียบร้อยแล้ว
สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะออกรหัสจริง
(EDI USER) ให้สำหรับใช้ในการรับ ส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบ
e-Customs |
4.กรณีไม่ประสงค์จะรับ
ส่งข้อมูล แต่จะลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์เอง |
ผู้ประกอบการต้องดำเนินการ
ดังนี้
4.1 จัดหาใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
4.2 ลงทะเบียนตามประกาศกรมศุลกากรที่ 20/2550
ณ หน่วยรับลงทะเบียนตามข้อ 1.2 โดยต้อง
กรอกแบบ คำขอลงทะเบียนผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร |
5.ผู้ประกอบการที่ต้องลงทะเบียนตามประกาศกรมศุลกากรที่
20/2550 |
แต่ไม่ต้องจัดหาใบรับรองลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
ได้แก่
5.1
กรณีมอบอำนาจให้ตัวแทนออกของเป็นผู้รับ
- ส่ง ข้อมูลและลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์แทน
5.2 กรณีใช้เคาน์เตอร์บริการ
5.3 กรณีเป็นผู้รับโอนบัตรภาษี |
6.ประกาศกรมศุลกากรและประกาศสำนักที่เกี่ยวข้องกับระบบ
e-Customs |
1.
การผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส |
ประกาศกรมศุลกากรที่
116/2549 |
2.
การลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรหรือดำเนินการในกระบวนการทางศุลกากร |
ประกาศกรมศุลกากรที่
20/2550 |
3.
ยกเลิกการผ่านพิธีการศุลกากรในระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Data Interchange : EDI)สำหรับการส่งของออก
|
ประกาศกรมศุลกากรที่
32/2550 |
4.
การยื่นคำขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรและการจัดทำตารางโอนสิทธ์ิสาํหรับใบขนสินคา้ที่ผ่า่นพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร |
ประกาศสำนักสิทธิประโยชน์
ทางภาษีอากร ที่ 3/2550 |
ทั้งนี้สามารถ
Down load ประกาศฯ ได้ที่
www.customs.go.th ในหัวข้อ Paperless-Customs
โดยสามารถสอบถามข้อมูลหรือปัญหาการใช้ระบบ
e-Customsได้ที่ Call Center 1164
|
|